สายพานลำเลียง
สายพานลำเลียง (Belt Conveyor) คือ อุปกรณ์ลำเลียง (Conveyor) ที่ใช้สายพาน (Belt) เป็น ตัวนำพาวัสดุ ระบบสายพานลำเลียงทำหน้าที่เคลื่อนย้ายวัสดุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง หลังจากวัสดุหรือชิ้นงานผ่านกระบวนการตามขั้นตอนมา เมื่อมาถึงการขนย้ายหรือลำเลียงก็จะใช้ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor System) ในการเคลื่อนย้ายวัสดุหรือชิ้นงาน
ดังนั้น ระบบสายพานลำเลียงจึงเหมาะสำหรับ โรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท ที่ใช้ระบบสายพานลำเลียงในกระบวนการผลิต
อุปกรณ์ลำเลียงแบบโซ่หรือโซ่ลำเลียง (Chain Conveyor)
หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งสามารถปรับไลน์การผลิตให้มีความโค้งได้ตามต้องการดังนั้น ระบบลำเลียงแบบโซ่หรือ
โซ่ลำเลียง (Chain Conveyor)จึงเป็นระบบลำเลียงที่เหมาะสำหรับงานอุตสาหกรรมทุกประเภท ที่ใช้
ระบบConveyorในการลำเลียง
1.1 ระบบโซ่ลำเลียง Trolley Convey(แบบแขวน)
ไปยังอีกจุดหนึ่ง ขับเคลื่อนด้วยโซ่ลักษณะการลำเลียงชิ้นงานจะลำเลียงชิ้นงานห้อยลงมาจากระบบ
สายพานลำเลียง สามารถลำเลียงได้หลายลักษณะทั้งมีรูปร่างและน้ำหนักที่แตกต่างกันและสามารถกำหนดความเร็วในการลำเลียงได้
1.2. ระบบโซ่ลำเลียง (แบบพื้นราบ)
ระบบโซ่ลำเลียง Floor Chain Conveyor (แบบพื้นราบ) ทำหน้าที่ในการเคลื่อนย้ายชิ้นงานจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ขับเคลื่อนด้วยโซ่ลักษณะการลำเลียงจากลำเลียงชิ้นงานในแนวพื้นราบ สามารถลำเลียงได้หลายลักษณะทั้งมีรูปร่างและน้ำหนักที่แตกต่างกันและสามารถกำหนดความเร็วในการลำเลียงได้ ตัวอย่างงานที่นำไปใช้ เช่น การลำเลียงชิ้นงานเข้าห้องพ่นสี
1.3.ระบบโซ่ลำเลียงPower And Free Conveyor (แบบแนวนอน)
ระบบโซ่ลำเลียง Power And Free Conveyor (แบบแนวนอน) ทำหน้าที่ในการเคลื่อนย้ายชิ้นงานจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ขับเคลื่อนด้วยโซ่ลักษณะการลำเลียงจากลำเลียงชิ้นงานในแนวพื้นราบ กำหนดการหยุดของชิ้นงานได้ สามารถลำเลียงได้หลายลักษณะทั้งมีรูปร่างและน้ำหนักที่แตกต่างกันและสามารถกำหนดความเร็วในการลำเลียงได้ ตัวอย่างงานที่นำไปใช้ เช่น การลำเลียงชิ้นงานเข้าห้องพ่นสี การลำเลียงเข้าตู้อบ
1.4. ระบบโซ่ลำเลียง Spin Line Conveyor (แบบหมุน)
ระบบโซ่ลำเลียง Spin Line Conveyor (แบบหมุน) ทำหน้าที่ในการเคลื่อนย้ายชิ้นงานจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ขับเคลื่อนด้วยโซ่ในแนวพื้นราบ ชิ้นงานสามารถหมุนได้ตามความต้องการและสามารถกำหนดเวลาในการลำเลียงได้ ตัวอย่างงานที่นำไปใช้ เช่น การลำเลียงชิ้นงานเข้าห้องพ่นสี การลำเลียงเข้าตู้อบ
1.5. ระบบโซ่ลำเลียง Slat Conveyor (แบบแผ่นระนาด)
ใช้ในการลำเลียงเคลื่อนย้ายชิ้นงานจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งขับเคลื่อนด้วยโซ่ สามารถรับน้ำหนักได้มากและมีความทนทานสูง ลักษณะโครงสร้างทำด้วย เหล็ก แต่แผ่น Slat ทำด้วย เช่น เหล็ก, สแตนเลส เป็นต้น
1.6. ระบบโซ่ลำเลียง Accumulator Conveyor (แบบ 2 ชั้น)
ระบบโซ่ลำเลียง Accumulator Conveyor (แบบ 2 ชั้น) ใช้ในการลำเลียงเคลื่อนย้ายชิ้นงานจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งขับเคลื่อนด้วยโซ่ ลักษณะการทำงานจะลำเลียงชิ้นงานมาตามสายพานลำเลียง เมื่อมาถึงจุดสุดทางลำเลียงจะมี ชุดลำเลียงอีกหนึ่งชุด ทำหน้าที่ในการย้ายชิ้นงานจากชั้นบนลงมาชั้นล่าง
1.7. ระบบโซ่ลำเลียง Automation Conveyor(แบบอัตโนมัติ)
ใช้ในการลำเลียงเคลื่อนย้ายชิ้นงานจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งขับเคลื่อนด้วยโซ่ ลักษณะการทำงานจะลำเลียงชิ้นงานมาตามสายพานลำเลียงและเคลื่อนย้ายชิ้นงานไปไลน์การผลิตอื่นแบบอัตโนมัติ
คลิปตัวอย่างการทำงานของสายพานลำเลียงแบบโซ่หรือโซ่ลำเลียง
2.อุปกรณ์ลำเลียงแบบสายพานเลียบ
Conveyor Belts คือ ระบบลำเลียงสินค้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งโดยใช้สายพานลำเรียงในหน่วย ของการผลิต ระบบลำเลียงสินค้าก็เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ในรางกายมนุษย์ เพราะถ้าไม่มีเส้นเลือดร่างกายของเราจะไม่มีการหมุนเวียนเลือดนำเลือกเสียมาฟอกให้กลายเป็นเลือดที่ดีได้ ซึ่งระบบลำเลียงจะต้องทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เช่นนั้นส่วนอื่นๆ ก็ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน
ระบบลำเลียงแบบสายพานที่มีประสิทธิภาพสูงถูกออกแบบมาสำหรับผลิตภัณฑ์หลากหลาย ชนิด เช่น อาหาร หรือ สินค้าที่มีน้ำหนักเบาอื่น ๆ สายพานประเภทนี้สามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งระบบอัตโนมัติ เหมาะสำหรับ LINE ที่มีความยาว หรือสำหรับการเชื่อมต่อระหว่างกระบวนการต่างๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิต ระบบลำเลียงสินค้าเปรียบเสมือนระบบประสาทส่วนกลางสำหรับการดำเนินงานของคุณ มันต้องทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ทุกอย่างสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลมากที่สุด จุดมุ่งหมายหลักของระบบสายพานลำเลียง คือ ช่วยในกระบวนการต่างๆ ให้มีความคล่องตัวมากขึ้น
คลิปการทำงานของอุปกรณ์ลำเลียงแบบสายพานเลียบ
รถ agv
Automated guided vehicle systems (AGV) หมายถึง อุปกรณ์ประเภท AGV มีลักษณะคล้ายอุปกรณ์ประเภท Industrial Truck แตกต่างที่ AGV ถูกควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ และถูกกำหนดเส้นทางการเดินทางที่ชัดเจน ไม่ต้องใช้คนขับ การเลือกใช้อุปกรณ์ประเภท AGV มักต้องลงทุนสูง ทั้งค่าคอมพิวเตอร์ที่ใช้ควบคุม
การติดตั้งเส้นทางซึ่งอาจมีการฝังสายไว้ใต้พื้นตามเส้นทาง และตัวรถ AGV เอง การควบคุมอุปกรณ์ประเภท AGV สามารถควบคุมได้หลายๆ คันโดยใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมเพียงชุดเดียว และ AGV แต่ละคันสามารถสื่อสารถึงกันได้ เช่น เพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันเอง หรือเพื่อป้องกันการกีดขวางการจราจร หากอีกคันยังอยู่ในจุดรับส่งวัสดุ
ประโยนช์ของรถ AGV
รถ AGV power stacker 1 คัน สามารถขับเคลื่อนโดยไม่ต้องใช้พนักงานขับ จะสามารถประหยัด
ค่าแรงคนงาน ได้ดังนี้ (ประมาณการที่ค่าแรงขั้นต่ำ300บาท และค่าสวัสดิการอื่นๆ)
ถ้าใช้งานAGV 1 กะ:วัน (8ชม.) ลดค่าใช้จ่ายแรงคนงาน 1 คน = 10,000 ฿:เดือน หรือ = 120,000฿:ปี
ถ้าใช้งานAGV 2 กะ:วัน (16ชม.)ลดค่าใช้จ่ายแรงคนงาน 2 คน = 20,000 ฿:เดือน หรือ = 240,000฿:ปี
ถ้าใช้งานAGV 3 กะ:วัน (24ชม.) ลดค่าใช้จ่ายแรงคนงาน 3 คน = 30,000 ฿:เดือน หรือ = 360,000฿:ปี
การนำทางของ AGV
1.ใช้สายไฟฟ้าและเซ็นเซอร์แม่เหล็ก
2.ใช้แถบสีและเซ็นเซอร์แสง
3.ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ควบคุมรอบหมุนของล้อ
วิธีการเลือกเส้นทางเดินให้แก่ AGV
1.วิธีเลือกด้วยความถี่
2.วิธีเลือกโดยการสวิตซ์เส้นทางเดิน
การควบคุมการจราจรและความปลอดภัยBlocking(การป้องกันการชน)
1.วิธีตรวจจับรถที่อยู่ข้างหน้า (On-Board Vehicle Sensing หรือ Forward Sensing)
2.วิธีการโซน (Zone Blocking)
-กันชนฉุกเฉิน
-สัญญาณเตือน
-ระบบหยุดเมื่อออกนอกเส้นทาง
คลิปการทำงานของรถAGV
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น